วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

อารยธรรมตะวันออก

อารยธรรมของโลกตะวันออก

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อารยธรรมตะวันออก ประกอบด้วยอารยธรรมที่สําคัญ

         ขุดพบเมืองโบราณที่เมืองฮารัปปา และเมืองที่โมเฮนจาดาโร เป็นพยานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญของชนเผ่าที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ คือพวกดราวิเดียน พวกพื้นเมืองของอินเดีย ลักษณะสิ่งก่อสร้างของอารยธรรมสินธุ : เป็นอารยธรรมแบบเมือง จุดเด่นของอารยธรรมสินธุอยู่ที่การก่อสร้างและวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ สิ่งก่อสร้างที่ขุดพบในเมืองสองเมืองข้างต้น มีการแบ่งเขตภายในเมืองออกเป็นสัดส่วน เป็นที่ตั้งอาคารสำคัญๆไว้อย่างเป็นหมวดหมู่
         การดำเนินชีวิตของประชากร : ทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา ความเชื่อ : เชื่อว่าชาวสินธุนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ส่วนใหญ่เป็นเทพผู้หญิงหรือเทพมารดา แม่พระธรณี อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุบางส่วนคล้ายกับอารยธรรมเมโส พบเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าสินธุในแถบเมโส อารยธรรมสินธุเสื่อมลง อาจเพราะถูกภัยธรรมชาติ ขณะเดียวกันเป็นช่วงที่พวกอารยันได้เข้ามารุกรานอินเดียว และขับไล่พวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปแถบลุ่มแม่น้ำคงคา อารยันบางกลุ่มก็ได้ปะปนกับพวกดราวีเดียนจนเกิดเป็นกลุ่มคนใหม่เรียกว่า ฮินดู
การตั้งถิ่นฐานและการพัฒนาอารยธรรมของอารยัน
         การตั้งถิ่นฐานของพวกอารยัน : แรกเริ่มยังไม่รู้จักการตั้งถิ่นฐาน เร่ร่อน แต่รู้จักเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก สังคมแรกๆประกอบด้วย นักรบ สามัญชน พระ และแบ่งแยกเป็นเผ่า การพัฒนาของพวกอารยธรรมอารยัน : ช่วงแรกเผ่าอารยันถูกเล่าต่อๆกันเป็นนิทาน ตอนหลังเปลี่ยนเป็นการสวดสรรเสริญบรรพบุรุษ คำสวดของอารยันยุคแรกเรียกว่า พระเวท (Veda) เป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ต่อมาเป็นศาสนาฮินดู ประกอบด้วยคัมภีร์ย่อย 3 เล่ม
ฤคเวท ร้อยกรอง สวดบูชาพระเจ้า มี 1,028 บท
ยชุรเวท บูชาและวิธีบูชาเทพเจ้า เป็นส่วนประกอบของฤคเวท
สามเวท ร้อยกรองรวมตั้งแต่บทบูชาและบทสวด รวมเรียกว่า ไตรเวท พระเวทนี้ถือว่าเป็นวรรณคดี
ยุคพระเวท หน่วยการปกครองที่เล็กที่สุดคือ ครอบครัว เทพที่ได้รับการนับถือมากที่สุดคือ พระอินทร์
ระบบวรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ มาจากส่วนหัวของพระเจ้า นักบวช กษัตริย์ มาจากอกพระเจ้า ผู้ปกครองประเทศ และนักรบ แพศย์ มาจากส่วนขาของพระเจ้า สามัญชน ชาวนา นายช่าง ศูทร มาจากส่วนเท้าพระเจ้า ทาสชาวอารยันมีการรวมตัวกันเป็นเผ่า มีหัวหน้าเผ่าเรียกว่า ราชา (Raja)
ยุคมหากาพย์ เป็นสมัยการขายตัวของพวกอารยัน มีหลักฐานที่สำคัญสองเล่มคือ มหากาพย์ภารตะ และมหากาพย์รามยณะ การเมือง : ยุคมหากาพย์มีการเมือง 2 ลักษณะคือ ราชาธิปไตยและสภาอำมาตย์ในระบบรัฐสภา ด้านเศรษฐกิจ : มีการใช้เหรียญทองแดง มีการทำเหมืองโลหะ มีการค้ากับชาวต่างชาติ ด้านสังคม : วรรณะพราหมณ์มีอำนาจมากขึ้น ด้านศาสนา : ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ(อริยสัจ4)การรุกรานของชาวต่างชาติในอารยธรรมอินเดีย ได้แก่ เปอร์เซียและกรีก
การเกิดและการเสื่อมของจักรวรรดิในสมัยราชวงศ์โมริยะ
เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์ 2 ปี จันทรคุปต์ ผู้เป็นหัวหน้าเผ่าโมริยะ ได้รวบรวมแคว้นเล็กๆในดินแดนลุ่มแม่น้ำคงคาไว้ทั้งหมดและขับไล่ชาวต่างชาติออกไปจากอินเดีย จากนั้นขยายอำนวจจนสามารถผนวกดินแดนลุ่มแม่น้ำสินธุเอาไว้ได้ ก่อนจะสถาปนาราชวงศ์โมริยะขึ้นปกครองอินเดีย สมัยต่อมาคือ พระเจ้าพินทุสาร และ พระเจ้าอโศกมหาราช
พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเน้นการเผยแพร่ศีลธรรม และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมและประติมากรรม
ราชวงศ์สังกะ : ปกครองต่อจากราชวงศ์โมริยะ เป็นราชวงศ์ของชาวต่างชาติราชวงศ์แรกที่ปกครองอินเดีย เป็นผสมระหว่างกรีกและอินเดีย ราชวงศ์สังกะเจริญทั้งทางด้านบรรณคดีและด้านศิลปกรรม
ราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ที่มีชื่อคือ พระเจ้ากนิษกะ ทรงได้รับการยกย่องด้านการอุปถัมป์พุทธศาสนา โดยทรงสนับสนุนนิยายมหายาน
การพัฒนาอารยธรรมในสมัยคุปตะ
           ราชวงศ์คุปตะ ถือว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมอินเดีย เพราะมีความเจริญสูงสุดในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ปรัชญา วรรณคดี ศิลปะ ลัทธิฮินดู รวมถึงวิทยาการต่างๆ หลังสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่สอง อาณาจักรคุปตะเริ่มเสื่อมและสิ้นสุดลง โดยอยู่ใต้อำนาจของพวกเร่ร่อนที่รุกรานคือ พวกฮั่น
ราชวงศ์หรรษา มีกษัตริย์ชื่อ พระเจ้าหรรษาวัฒนา ทรงรวบรวมแคว้นให้เหมือนสมัยคุปตะและขับไล่ฮั่นออกไป ทรงอุปถัมป์พุทธศาสนา หลังจากพระเจ้าหรรษาสิ้นพระชนม์อาณาจักรก็แตกและถูกมุสลิมรุกราน ได้แก่พวกเตอร์กและมองโกล ภายใต้การนำของจักรพรรดิดิบาบูร์ หลังจากนั้นจึงตั้งราชวงศ์โมกุลขึ้นและเผนแผ่ศาสนาอิสลาม
ราชวงศ์โมกุล เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดียก่อนตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ จักรพรรดิบาบูร์เป็นผู้ก่อตั้ง ต่อมากลายเป็นจักวรรดิที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย มีนครเดลฮี (เดลลี) เป็นเมืองหลวง หลังจากนั้นเริ่มเสื่อมลงจากความกดขี่ทางด้านเชื้อชาติและศาสนา เกิดสงครามระหว่างรัฐบ่อย การปกครองอ่อนแอ เศรษฐกิจก็เสื่อม อังกฤษจึงอาศัยความอ่อนแอดังกล่าวเข้ายึดอินเดีย
           อารยธรรมจีนสมัยเริ่มราชวงศ์ จีนเชื่อว่าการปกครองของกษัตริย์แต่ละราชวงศ์เป็นอาณัติจากสวรรค์ (Mandate of Heaven) กษัตริย์เป็นโอรสแห่งสวรรค์ที่ส่งลงมาปกครองมนุษย์
          ราชวงศ์เฉีย ราชวงศ์แรก สันนิษฐานว่าอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเหลืองหรือแม่น้ำฮวงโห เป็นนครรัฐเล็กๆ เกษตรกรรม และได้เริ่มทำปฏิทินขึ้นใช้
ราชวงศ์เซียง (ที่เดียวกับเฉีย) เริ่มรู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ เป็นอักษรภาพ มีการตั้งชุมชนขึ้นมาในลักษณะนครรัฐ มีจักรพรรดิปกครองคล้ายระบบศักดินา จักรพรรดิดำนงตำแหน่งประมุขในด้านการปกครอง การทหาร และการศาสนา คนในสมัยนี้ยกย่องบูชาบรรพบุรุษและเชื่อในเทพเจ้าที่สถิตอยู่ตามธรรมชาติ ตอนปลายราชวงศ์เริ่มอ่อนอำนาจลงเนื่องจากความแตกแยกภายใน
ราชวงศ์โจว ถือว่าเป็นยุคทองของปรัชญา เป็นราชวงศ์ที่มีอายุยาวนานที่สุด หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาคือ ชุนชิวจิง เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ฤดูวสันต์ ด้านการปกครอง K. ดำรงตำแหน่งที่เรียกตัวเองว่า โอรสของสวรรค์ เป็นเจ้าของแผ่นดินทั้งประเทศ มีนักปราชญ์คนสำคัญหลายท่าน ขงจื๊อ วางรากฐานการศึกษาของจีน ปรัชญาขงจื๊อมีลักษณะอนุรักษ์นิยม สั่งสอนให้ประพฤติและปกครองโดยชอบธรรม เล่าจื๊อ ให้ข้อคิดทางด้านสังคมและการเมือง เต๋า แปลว่า วิถีหรือทาง ลัทธิเต๋าเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบสังคมนิยม สอนให้คนสนใจธรรมชาติให้มากที่สุด ส่วน เม่งจื๊อ เห็นว่ารัฐบาลควรทำตัวเป็นเยี่ยงอย่างแก่ประชาชน
สมัยการก่อตัวเป็นจักรรวรรดิและยุคทองของอารยธรรมจีน
           ราชวงศ์จิ๋นและฉิน K.จิ๋นซีฮ่องเต้ ได้ปราบปรามแคว้นต่างๆให้อยู่ในอำนาจ และวางรากฐานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้จีน สิ่งสำคัญที่ทำให้สร้างอำนาจได้อย่างรวดเร็วคือ การนำหลักปรัชญาที่เรียกว่า ระบบฟาเจียหรือระบบนิตินิยม มาใช้ในการปกครอง ระบบนี้ยึดหลักกฏหมายเป็นเครื่องกำหนดและควบคุมความประพฤติของคนในสังคม คือ การให้รางวัลและการลงโทษอย่างรุนแรง หลังจากที่ K.จิ๋นสิ้นพระชนม์ บ้านเมืองเริ่มอ่อนแอ จึงมีหัวหน้าชาวนาชื่อ หลิวปัง สถาปนาตนเป็น K.เกาสู คนใหม่คือ ราชวงศ์ฮั่น
ราชวงศ์ฮั่น ฮั่นปกครองจีนนานถึง 400 ปี มี K. องค์สำคัญคือ พระเจ้าฮั่น หวูตี ยุคนี้มีความเจริญสูงสุดในประวัติศาสตร์จีนโดยได้ขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง ปราบปรามชนเผ่าต่างๆ สมัยนี้มีนักปรัชญาที่สำคัญคือ สูมาเชียน มีการขยายการค้าและสินค้าไปยังยุโรป เรียกเส้นทางการติดต่อนี้ว่า เส้นทางสายไหม เมื่อสิ้นราชวงศ์ฮั่นสถานการณ์บ้านเมืองก็ยังไม่สงบสุขเกิดการรบชิงอำนาจตลอดเวลา แผ่นดินจีนในยุคนี้จึงแบ่งออกเป็น 3 ภาค หรือที่เราเรียกว่า สามก๊ก
ราชวงศ์สุย จีนมีการรวมตัวกันอีกครั้งหลังจากตกอยู่ในการจลาจลมานาน K.สุยหวั่นตี่ตั้งราชวงศ์และปรับปรุงบ้านเมืองหลายด้าน มีการสร้างถนน ขุดคลอง สร้างกำแพงเมือง และงานด้านสาธารณสุข ราชวงศ์ถัง สมัยนี้เจริญมากในด้านศิลปกรรมและวรรณกรรมจนได้ชื่อว่าเป็น ยุคทองของอารยธรรมจีน K.ถังไทซุง ขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง มีการรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาในจีน กวีที่เด่นที่สุดในยุคนี้คือ หลีไป๋ และตูฟู ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมอำนาจเนื่องจากความขัดแย้งภายในแคว้น จนในที่สุดได้แคกออกเป็น 5 ราชวงศ์และไม่สามารถรวมดินแดนเหมือนเดิมได้ แต่ในที่สุด ค.ศ.960 แม่ทัพเจากวงหยิน ได้รวบรวมจีนให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง
สมัยติดต่อกับโลกภายนอก
            ราชวงศ์ซ้อง ก่อตั้งโดยเจากวงยิน ต่อมาได้ตั้งชื่อตนว่า จักรพรรดิไถ้จือ ราชวงศ์ซ้องปกครองจีนนานถึง 300 ปี การปกครองสมัยนี้นำนโยบายจากราชวงศ์ถังมาใช้ บุคคลที่จะเข้ารับราชการต้องมีความสามารถ และผ่านการสอบจิ๋นซี ที่จัดว่าเป็นการสอบที่ยากที่สุด นักปราชญ์ที่มีชื่อที่สุดคือ ชูสี ให้ความสำคัญกับเต๋าและพุทธศาสนา ราชวงศ์นี้ได้ชื่อว่าเป็นราชวงศ์ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมากจนละเลยทางด้านการทหารทำให้ถูกมองโกลเข้ารุกรานและสูญเสียอำนาจให้มองโกลในที่สุด
ราชวงศ์หงวนหรือมองโกล กุบไลข่าน ได้ยึดอำนาจจากราชวงศ์ซ้องและปกครองแผ่นดินจีน นับเป็นครั้งแรกที่จีนตกอยู่ภายใต้การปกครองของชนต่างชาติ กุบไลข่านได้พัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญเป็นอย่างมาก ทรงยอมรับลัทธิขงจื๊อและพยายามทำตนให้เข้ากับชาวจีน สมัยนี้มีชาวต่างขาติเข้ามาในแผ่นดินจีนเป็นอย่างมาก เช่น พ่อค้า มิชชันนารี ที่มีชื่อเสียงสุดคือ มาร์โคโปโล ที่ได้บันทึกเรื่องราวของจีนเอาไว้ ในที่สุดพวกจีนได้รวมตัวกันก่อจลาจลขับไล่พวกมองโกล
ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง กลับมามีอำนาจหลังจากไล่มองโกลออกไป และย้ายเมืองหลวงไปที่กรุงปักกิ่ง ช่วงนี้มีการนำเอาศิลปวัฒนธรรมแบบเก่าในสมัยราชวงศ์ถังมาใช้ ศิลปะที่มีชื่อมากในยุคนี้คือ เครื่องเคลือบ ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู ราชวงศ์สุดท้ายของจีนก่อนสถาปนาเป็นสาธารณรัฐ เป็นชนต่างชาติที่เข้ามาปกครองจีน โดยปกครองจีนตามระบบเก่า คือ ใช้หลักทฤษฎีการปกครองตามลัทธิขงจื๊อ และพยายามรักษาอารยธรรมดั้งเดิมของจีนเอาไว้แทบทุกอย่าง สมัยนี้จักพรรดิเฉียนหลุนโปรดให้มีการก่อสร้างพระราชวังฤดูร้อน เป็นศิลปะอิตาเลียนผสมฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ดร.ซุนยัดเซ็นหัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋งได้เข้ายึดอำนาจจากแมนจูและสถาปนาการปกครองจีนเป็นแบบสาธารณรัฐ
พื้นฐานอารยธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
             ความเจริญทางด้านวัตถุ วัฒนธรรมฮัวบินห์ : เป็นยุคหิน พบที่เวียดนาม พบความเจริญทางวัตถุหลายชนิด เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธ วัฒนธรรมบัคซอน : เป็นวัฒนธรรมยุคหินที่พัฒนามาจากวัฒนธรรมฮัวบินห์ พบขวานสั้น เครื่องมือที่ทำด้วยกระดูก และเปลือกหอย วัฒนธรรมดองซอง : เป็นพัฒนาการของวัฒนธรรมในยุคโลหะ วัฒนธรรมหินใหญ่ : นำหินมาก่อนสร้าง หลุมศพก่อด้วยแท่งหินและแผ่นหิน วัฒนธรรมบ้านเชียง : เป็นยุคโลหะ
ความเจริญด้านสังคมและศาสนา : มักให้ความสำคัญกับสตรี มีการนับถือวิญญาณและภูติผีปีศาจ ทำให้ต้องเซ่นสรวงบูชาพลังลึกลับ และยังมีความเชื่อในเรื่องการบูชาบรรพบุรุษและเชื่อในเรื่องความตาย
การรับอารยธรรมอินเดีย และจีน
     อิทธิพลอารยธรรมอินเดีย
     ด้านศาสนา : ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ปราสาทหินพนม       รุ้ง ปราสาทหินพิมาย ศิวลึงค์ และพุทธศาสนา คำสอน ประเพณีต่างๆ
     ด้านการเมืองการปกครอง : มีแนวคิด “สมมติเทพ” กษัตริย์เป็นเทพจุติมาเกิด
     ด้านสังคม : มีการแบ่งชนชั้นเหมือนวรรณะแต่ไม่เคร่งเท่า คือกษัตริย์ ขุนนาง ไพร่ ทาส
     ด้านอักษร : มีภาษาสันสกฤตแทรกอยู่ด้วย และด้านวรรณคดี รามายณะ มหาภารตะ
     ด้านศิลปกรรม : สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหาร จิตรกรรม ภาพตามผนังโบสถ์ ประติมากรรม เทวรูป อิทธิพลจากจีน (แพร่ได้สองทางคือ จากการค้าขายกับการอพยพ)
      ด้านการเมืองการปกครอง : แนวคิดเรื่องศักดินาสวามิภักดิ์ ระบบเจ้าขุนมูลนาย
      ด้านสังคม : การกำหนดปีด้วยสัตว์ ชวด หนู ฉลู วัว เครื่องแต่งกาย ประเพณี ตรุษจีน กินเจ ด้านการค้า : ความรู้เรื่องการค้าและการต่อเรือ
อาณาจักรโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อาณาจักรโบราณบนพื้นแผ่นดินใหญ่
อาณาจักรฟูนาน : นับถือศาสนาพุทธ มีประเพณีพิธีบูชาพระมเหศวร การปกครองยึดแบบฮินดู
อาณาจักรเจนละ (กัมพูชา) : ยึดอาณาจักรฟูนานและขึ้นครองราชย์
อาณาจักรจามปา : นับถือพุทธและพราหมณ์ รับอารยธรรมจีนและอินเดีย
อาณาจักรทวารวดี : นับถือพุทธและรับอิทธิพลอีนเดียคุปตะ
อาณาจักรศรีเกษตร : ดินแดนแห่งความโชคดี
อาณาจักรสุธรรมวดี : นับถือพุทธแบบหินยาน อาณาจักรโบราณบนคาบสมุทรมลายู อาณาจักรตามพรลิงค์ :
อาณาจักต้นเหมยหลิว เหมาะสมด้านค้าขายเพราะเป็นเส้นทางการเดินเรือกับจีน
อาณาจักศรีวิชัย : ได้รับอิทธิพลจากอินเดียทุกด้าน นับถือฮินดู พุทธมหายาน
อาณาจักรมัชปาหิต : มีอำนาจสูงสุดสมัย คชมาดา สามารถรุ่งเรืองแทนศรีวิชัยที่เริ่มเสื่อมอำนาจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารยธรรมตะวันตก

อารยธรรมตะวันตก อารยธรรมตะวันตก ( Western Civilization )มีแหล่งกำเนิดในดินแดนเมโสโปเตเมีย  (Mesopotamia  ในภาษากรีก หมายถึง ดิ...