อารยธรรมตะวันตก
อารยธรรมตะวันตก (Western Civilization)มีแหล่งกำเนิดในดินแดนเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia ในภาษากรีก หมายถึง ดินแดนระหว่างแม่น้ำ 2 สาย) หรือแถบลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส (Tigris-Euphrates) ในตะวันออกใกล้ (ปัจจุบันคือ ประเทศอิรัก) และลุ่มแม่น้ำไนล์ ในประเทศอียิปต์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ปัจจุบันดินแดนทั้งสองแห่งนี้จัดอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าอาณาจักรซูเมอร์(Sumer) หรือชีนาร์(Shinar) ที่ปรากฏชื่อในพระคัมภีร์ไบเบิล เป็นอู่ของอารยธรรมที่มีความเก่าแก่กว่าอียิปต์ กำเนิดเมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช รวมทั้งเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ ดังความเห็นของนักประวัติศาสตร์ว่า “ประวัติศาสตร์เริ่มขึ้นที่ซูเมอร์” (History begins at Sumer) เนื่องจากชาวซูเมเรีย(Sumerian) เป็นชนชาติแรกที่ประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็น “หลักฐาน” สำคัญหรือหัวใจในการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ และการแบ่งเส้นเวลาออกเป็น “สมัยก่อนประวัติศาสตร์” และ “สมัยประวัติศาสตร์
1. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
1.1 สภาพทางภูมิศาสตร์ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
ดินแดนเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) คือบริเวณดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำไทกริส (Tigris) และยูเฟรติส (Euphrates) หรือบริเวณประเทศอิรักในปัจจุบัน เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองจนกลายเป็นอู่อารยธรรมที่สำคัญของโลก ดินแดนแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์เนื่องจากแม่น้ำทั้งสองสายท่วมท้นตลิ่งในฤดูใบไม้ผลิ เมื่อน้ำลดพื้นดินจึงเต็มไปด้วยโคลนตมที่กลายเป็นปุ๋ยอันอุดมสมบูรณ์ ทำให้บริเวณนี้เหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ดินแดนจากเมโสโปเตเมียไปจนถึงชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจึงมีชื่อว่า ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (The Fertile Crescent) หรือ วงโค้งแห่งความอุดมสมบูรณ์
1.2 การตั้งถิ่นฐานของชาติพันธุ์ต่างๆ
ผู้ตั้งหลักแหล่งพวกแรกของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย คือ พวกสุเมเรียน ภายหลังจากนั้นจึงมีพวกเซมิติกและสาขา เช่น พวกฟินีเชียนอมอไรต์และฮิบรู พวกอินโด-ยูโรเปียน และสาขา ได้แก่ พวกฮิตไตท์และเปอร์เซียน อพยพจากดินแดนตอนเหนือเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนเมโสโปเตเมียในเวลาต่อมา
1.3 ด้านการเมืองการปกครอง
ชาวสุเมเรียนรวมตัวกันเป็นแว่นแคว้นแบบนครรัฐ มีเจ้าผู้ครองนครทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองและผู้นำทางศาสนา มีฐานะเสมือนเทพเจ้าประจำนคร ปกครองแบบนครรัฐอิสระไม่ขึ้นต่อกัน ต่อมาเริ่มมีการแย่งชิงดินแดนและแหล่งน้ำระหว่างรัฐ จนในที่สุดถูกโจมตีจากพวกคาลเดียน ที่มีอำนาจจนสามารถตั้งอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงบาบิโลน ภายหลังจากนั้นก็มีพวกอื่นเข้ามาโจมตีอาณาจักรนี้ จนกระทั่งผู้นำเผ่าอมอไรต์(เป็นสาขาหนึ่งของพวกเซมิติก) เข้ายึดอาณาจักรบาบิโลนพร้อมทั้งสถาปนาผู้นำขึ้นเป็นกษัตริย์
ชาวอมอไรต์มีกษัตริย์ชื่อ พระเจ้าฮัมมูราบี เป็นผู้มีชื่อเสียง เนื่องจากทรงขยายอำนาจและทำการปกครองอย่างมีระบบ เห็นได้จากการที่ทรงโปรดให้ประมวลกฎหมายของนครรัฐต่างๆ เป็นกฎหมายชื่อ “ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี” ซึ่งถือเป็นประมวลกฎหมายที่จารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก บันทึกไว้ด้วยอักษรรูปลิ่ม ลักษณะกฎหมายมีความเข้มงวดกว่ากฎหมายเดิมของชาวสุเมเรียน ซึ่งลงโทษโดยเสียเงินค่าปรับ แต่ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีเป็นการลงโทษโดยใช้หลัก “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”
พวกอัสซีเรียน (Assyrian) (เป็นสาขาหนึ่งของพวกสุเมเรียน) เข้าปกครองอาณาจักรบาบิโลน จึงได้สืบทอดความเจริญและปรับปรุงการปกครองโดยแบ่งอาณาจักรออกเป็นมณฑลต่างๆ มีข้าหลวงปกครองโดยขึ้นตรงต่อกษัตริย์
พวกฮิบรู (Hebrew) (เป็นสาขาหนึ่งของพวกเซเมติก) เดิมเป็นเผ่าเลี้ยงสัตว์ร่อนเร่ ต่อมาพวกนี้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในนครรัฐสุเมเรียน แต่ยังไม่สามารถตั้งอาณาจักรเป็นของตนเองจนกระทั่งพระเจ้าเดวิด (ครองราชย์ประมาณ 470 – 430 ปี ก่อนพุทธศักราช) ได้ตั้งอาณาจักรอัคคัท (Akkad) ของฮิบรูได้สำเร็จ อาณาจักรฮิบรูมีความเจริญรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าโซโลมอน (Solomon) (ครองราชย์ประมาณ 430 – 390 ปีก่อนพุทธศักราช) แล้วจึงสลายไปในเวลาต่อมา
พวกเปอร์เซียน (Persian) (เป็นสาขาหนึ่งของพวกอินโด-ยูโรเปียน) ที่อพยพเคลื่อนย้ายจากดินแดนเอเชียกลางเพื่อแสวงหาที่ดินอันอุดมสมบูรณ์ จนในที่สุดจึงตั้งถิ่นฐานบริเวณดินแดนดั้งแต่ทะเลสาบแคสเปียนจนถึงอ่าวเปอร์เซีย กษัตริย์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great)
กษัตริย์เปอร์เซียองค์ต่อมาคือ พระเจ้าดาริอุสมหาราช (Darius the Great) ทรงขยายอำนาจออกไปปกครองดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ ภายหลังรัชกาลของพระองค์เมื่อ พ.ศ. 143 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีก เข้าโจมตีเมืองเปอร์ซีโปลิส ทำให้อิทธิพลกรีกแผ่เข้ามาในอาณาจักรเปอร์เซีย
1.4 ด้านเศรษฐกิจ
บรรดาชนเผ่าที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนเมโสโปเตเมีย ชาวสุเมเรียนนับว่ามีความเชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การปลูกข้าวสาลี และเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้แรงงานและทำผลิตภัณฑ์จากสัตว์เพื่อบริโภค ได้แก่ เนื้อ นม เนย และใช้ขนสัตว์ที่ย้อมสีแล้วทอเป็นผ้าสำหรับนุ่งห่มและทำเป็นพรมใช้ในชีวิตประจำวัน
การที่ชาวสุเมเรียนมีความรู้ในการคำนวณและความรู้ทางดาราศาสตร์สามารถทำปฏิทินแบบจันทรคติอาศัยคาบเวลาระหว่างดวงจันทร์วันเพ็ญ โดยกำหนดให้เดือนหนึ่งเฉลี่ยนาน 29กับ ½ วัน และแบ่งปีออกเป็น 12 เดือน ทำให้รู้เวลาที่เหมาะสมในการเพาะปลูกและยังทำให้สามารถกำหนดวันที่ควรจะออกเดินทางไปติดต่อค้าขาย เช่น การใช้ความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดวงดาวเป็นเครื่องนำทางให้เดินไปถึงจุดหมาย นอกจากนี้ความรู้ด้านการบวก ลบ คูณ และระบบการชั่ง ตวง วัด ทำให้ชาวสุเมเรียนมีความสามารถในด้านการค้า
เมื่อประมาณ 1,750 ปีก่อนพุทธศักราช อาณาจักรบาบิโลนมีความมั่นคงทางการเมืองการปกครองและการค้า พ่อค้าเมโสโปเตเมียเดินทางค้าขายกับเมืองต่างๆในดินแดนเอเชียตะวันออกกลางไปจนถึงดินแดนที่ไกลออกไป ได้แก่ อินเดียและจีน โดยใช้โลหะ เงิน และทองคำ ซื้อ-ขายสินค้าจำพวกธัญพืช ผ้าและสินค้ามีค่าอื่นๆ ทำให้อาณาจักรบาบิโลนกลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของโลกในยุคนั้น
1.5 ด้านสังคม
หลักฐานการจัดระเบียบสังคมในดินแดนเมโสโปเตเมีย ได้แก่ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีที่สะท้อนให้เห็นว่าโครงสร้างสังคมในดินแดนนี้ประกอบด้วยชนชั้นผู้ปกครอง ได้แก่ กษัตริย์ พระราชวงศ์และขุนนาง กลุ่มขุนนางมีหน้าที่รับผิดชอบทั้งด้านการปกครองและศาสนา ส่วนคนที่ถูกปกครอง ได้แก่ ช่างฝีมือ พ่อค้า ซึ่งเป็นชนชั้นกลาง ส่วนกรรมกรและทาสถือว่าเป็นชนชั้นต่ำในสังคม กฎหมายฮัมมูราบีนับว่าทันสมัยในยุคนั้น คือ การรับรองสิทธิในทรัพย์สินของคนในสังคม และคนในสังคมมีความรับผิดชอบต่างกัน
1.6 ด้านศาสนา
ในด้านความเชื่อ คนในดินแดนเมโสโปเตเมียมีความเชื่อถือโชคลาง เทพเจ้าที่สถิตในธรรมชาติซึ่งมีอยู่หลายองค์ ยกเว้นพวกฮิบรูซึ่งเป็นชนเผ่าที่นับถือพระ เจ้าองค์เดียว มีพระนามว่า “พระยะโฮวาห์”
ความเชื่อในศาสนาทำให้เกิดการสร้างศาสนสถาน เช่น ชาวสุเมเรียนนำดินเหนียวมาสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “ซิกกูแรต” เพื่อบูชาเทพเจ้าที่มีหลายองค์ เช่น เทพเจ้าแห่งท้องฟ้า ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ส่วนเทพเจ้าสูงสุด ได้แก่ เทพที่ควบคุมฤดูกาล สิ่งของที่นำมาบูชาเทพเจ้า ได้แก่ โลหะ เงิน ทอง และสิ่งมีค่าอื่นๆ รวมทั้งการบูชายัญ
1.7 ด้านภาษาและวรรณกรรม
การประดิษฐ์ตัวอักษรของชาวสุเมเรียนเมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อนพุทธศักราชนั้น นักโบราณคดีเชื่อว่าชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่คิดประดิษฐ์อักษรได้ก่อนชนชาติอื่น ตัวอักษรดังกล่าวเรียกว่า ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรรูปลิ่ม มีลักษณะเป็นอักษรภาพเช่นเดียวกับอักษรภาพของชาวอิยิปต์ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องหมายรูปลิ่มจำนวนหลายร้อยตัว เขียนโดยการกดก้านอ้อแหลมๆลงบนแผ่นดินเหนียวที่ยังไม่แห้ง แล้วนำไปตากหรือเผาจนแข็ง อักษรรูปลิ่มนี้กลายเป็นต้นแบบตัวอักษรของโลกตะวันตก คือ กรีกและโรมันในเวลาต่อมา จุดมุ่งหมายของการประดิษฐ์อักษรรูปลิ่มนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้า และใช้ในการเขียนคำประพันธ์บทกวีต่างๆ ส่งผลให้คนในยุคนั้นรวบรวมเหตุการณ์และความรู้ต่างๆจดเป็นบันทึกไว้ให้คนรุ่นต่อมาได้มีหลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ยุคนี้
วรรณกรรมของชาวสุเมเรียนส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และชีวิตในทางเศรษฐกิจ ชาวเมโสโปเตเมียยังสร้างมหากาพย์เทพตำนานและประวัติศาสตร์ เช่น คือ มหากาพย์กิลกาเมช บรรจุเรื่องราวเทพตำนานที่เป็นหลักของตน โครงเรื่องที่เป็นหลักของกาพย์นี้ คือ ชัยชนะของกิลกาเมชแสดงสัญลักษณ์ของมนุษย์เหนือธรรมชาติ วรรณกรรมศาสนา บทสวด และธรรมจริยาก่อให้เกิดวรรณกรรมของ
บาบิโลเนียนในบรรดาสิ่งที่ปราชญ์กล่าวไว้ เช่น “อย่าเร่งรีบในการพูดในที่สาธารณะ” “หลีกเลี่ยงความชั่วร้าย และการเกลียดชัง”
บาบิโลเนียนในบรรดาสิ่งที่ปราชญ์กล่าวไว้ เช่น “อย่าเร่งรีบในการพูดในที่สาธารณะ” “หลีกเลี่ยงความชั่วร้าย และการเกลียดชัง”
1.8 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปกรรม
ในดินแดนเมโสโปเตเมียได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆหลายอย่าง เช่น ชาวสุเมเรียนได้ประดิษฐ์คิดค้นล้อเกวียน ซุ้มโค้ง (Arch) ซี่งช่วยทำให้อาคารแข็งแรงขึ้น แป้นหมุนที่ใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผา ความรู้ทางการคำนวณ การแบ่งชั่วโมงออกเป็น 60 นาที รู้จักทำสำริดโดยนำทองแดงมาหลอมกับดีบุก ทำเครื่องมือโลหะที่ใช้ในการทำไร่ทำนา
ชาวอัสสีเรียนเป็นชาติที่ชำนาญในด้านการรบได้ผลิตอาวุธที่ทำด้วยโลหะ เช่น ดาบ หอก ธนู โล่ และเกราะ รวมทั้งยุทธวิธีในการรบ เช่น การใช้ต้นซุงเข้ากระทุ้งกำแพงเมืองและรวบรวมตำราพิชัยสงคราม โดยเขียนไว้ในแผ่นดินเหนียวเป็นจำนวนมาก ผู้นำอัสซีเรียนได้ขยายการปกครองจนมีอาณาเขตที่กว้างใหญ่ ในสมัยของพระเจ้าอัสซูร์บานิปาล (Ashubanipal) ได้สร้างห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดขณะนั้นขึ้นที่เมืองนิเนเวห์ (Nineveh) ซึ่งเป็นเมืองหลวงเป็นที่สำหรับเก็บแผ่นจารึกดินเหนียวไว้ถึง 22,000 แผ่น ศิลปกรรมที่สำคัญของชาวอัสซีเรียน คือ ภาพสลักนูนต่ำ ซึ่งแสดงชีวิตประจำวันและการทำสงครามของชาวอัสซีเรียน
ชาวสุเมเรียนยังสร้างพาหนะที่มีล้อใช้สัตว์ลาก การประดิษฐ์ล้อลากเพื่อทุ่นแรง ซึ่งนับว่าเป็นพื้นฐานในการพัฒนาพาหนะประเภทเกวียนและรถยนต์ในโลกจนถึงปัจจุบัน
ชาวสุเมเรียนที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ ต้องเผชิญกับน้ำท่วมจากการไหลบ่าของแม่น้ำไทกริส– ยูเฟรติส ดังนั้นจึงต้องหาวิธีแก้ปัญหาโดยการขุดคลองระบายน้ำหรือทำทำนบกั้นน้ำ นับเป็นความพยายามในการแก้ปัญหาโดยควบคุมธรรมชาติ ความรู้เกี่ยวกับเกษตรกรรมของพวกสุเมเรียนเป็นพื้นฐานแก่ชนเผ่าอื่นๆ เช่น พวกบาบิโลเนียนที่ได้สร้างสวนลอยมีต้นไม้เขียวขจีตลอดปี เรียกกันว่า สวนลอยแห่งบาบิโลน (Hanging Garden of Babylon) สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลนได้รับการยกย่องว่า เป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ นอกจากนี้ชาวเมโสโปเตเมียยังรู้จักการสร้างอุโมงค์น้ำใต้ดินเพื่อส่งน้ำมาใช้ในเมืองหลวงได้อีกด้วย ความเจริญของคนในดินแดนเมโสโปเตเมีย ยังได้แพร่หลายไปสู่ดินแดนใกล้เคียงและมีอิทธิพลต่ออารยธรรมอียิปต์ กรีกและโรมันในเวลาต่อมา
2 อารยธรรมอียิปต์
2.1 ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์หรืออารยธรรมอียิปต์โบราณก่อกำเนิดบริเวณดินแดนสองฝั่ง แม่น้ำไนล์ ตั้งแต่ปากแม่น้ำไนล์จนไปถึง
ตอนเหนือของประเทศซูดานในปัจจุบัน
ทิศเหนือ ติดกับ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและคาบสมุทรไซนาย
ทิศตะวันตก ติดกับ ทะเลทรายลิเบียและทะเลทรายซาฮารา
ทิศตะวันออกและทิศใต้ ติดกับทะเลทรายนูเบียและทะเลแดง
จากสภาพภูมิอากาศดังกล่าวจะเห็นว่า บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์เปรียบเสมือนโอเอซิสท่ามกลางทะเลทราย จึงเป็นปราการธรรมชาติป้องกันการรุกรานจากภายนอกได้
สภาพภูมิประเทศของลุ่มแม่น้ำไนล์ก่อนที่จะรวมเป็นปึกแผ่น ได้แบ่งออกเป็นบริเวณลุ่มน้ำออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นบริเวณอียิปต์ล่าง (Lower Egypt) อยู่บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำไนล์แยกเป็นแม่น้ำสาขาที่มีลักษณะเป็นรูปพัด แล้วไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชาวกรีกโบราณเรียก บริเวณนี้ว่า เดลตา และบริเวณอียิปต์บน (Upper Egypt) ได้แก่ บริเวณที่แม่น้ำไนล์ไหลผ่าน หุบเขา เป็นที่ราบแคบๆ ขนาบด้วยหน้าผาที่ลาดกว้างใหญ่ ถัดจากหน้าผา คือ ทะเลทราย ต่อมาเมเนส (Menes) ประมุขแห่งอียิปต์ล่างจึงได้รวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกัน
2.2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอารยธรรมลุ่มน้ำไนล์
1 ที่ตั้ง
- เนื่องจากหิมะละลายในเขตที่ราบสูงเอธิโอเปีย ทำให้บริเวณแม่น้ำไนล์มีดินตะกอนมาทับถมจึงเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์
- มีความได้เปรียบทางธรรมชาติ เนื่องจากประเทศอียิปต์เป็นดินแดนที่ล้อมรอบด้วยทะเลทรายทำให้มีปราการธรรมชาติในการป้องกันศัตรูภายนอก
2 ทรัพยากรธรรมชาติ
แม้อียิปต์จะแห้งแล้ง แต่สองฝั่งแม่น้ำไนล์ก็ประกอบด้วยหินแกรนิตและหินทราย ซึ่งใช้ก่อสร้างและพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองด้านสถาปัตยกรรม วัสดุเหล่านี้มีความแข็งแรงคงทนแข็งแรงและช่วยรักษามรดกทางด้านอารยธรรมของอียิปต์ให้ปรากฏแก่ชาวโลกมาจนกระทั่งปัจจุบัน
3 ระบบการปกครอง
ชาวอียิปต์ยอมรับอำนาจและเคารพนับถือกษัตริย์ฟาโรห์ดุจเทพเจ้าองค์หนึ่ง จึงมีอำนาจในการปกครองและบริหารอย่างเต็มที่ทั้งด้านการเมืองและศาสนา โดยมีขุนนางเป็นผู้ช่วยในการปกครอง และพระเป็นผู้ช่วยด้านศาสนา ซึ่งการที่พาโรห์มีอำนาจเด็ดขาดทำให้อียิปต์สามารถพัฒนาอารยธรรมของตนได้อย่างเต็มที่
4 ภูมิปัญญาของชาวอียิปต์
ชาวอียิปต์สามารถคิดค้นเทคโนโลยีและวิทยาการความเจริญด้านต่างๆเพื่อตอบสนองการดำเนินชีวิต ความเชื่อทางศาสนาและการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่อียิปต์ เช่น ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และฟิสิกส์ ได้ส่งเสริมความเจริญในด้านการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม เป็นต้น
2.3 สมัยอาณาจักรอียิปต์
1 สมัยอาณาจักรเก่า มีความเจริญในช่วงประมาณปี 2,700 – 2,200 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นสมัยที่อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และศิลปกรรม มีการก่อสร้างพีระมิดซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของอารยธรรมอียิปต์
2 สมัยอาณาจักรกลาง ฟาโรห์มีอำนาจปกครองอยู่ในช่วงราวปี 2050 – 1652 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยนี้อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านทางวิทยาการและภูมิปัญญามากโดยเฉพาะด้านการชลประทาน จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของอียิปต์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยเกิดความวุ่นวายภายในประเทศ จนต่างชาติเข้ามารุกรานและปกครองอียิปต์
3 สมัยอาณาจักรใหม่ ชาวอียิปต์สามารถขับไล่ชาวต่างชาติ และกลับมาปกครองดินแดนของตนอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงประมาณปี 1567 – 1085 ก่อนคริสต์ศักราช สมัยนี้ฟาโรห์มีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองและขยายอาณาเขตเหนือดินแดนใกล้เคียงจนเป็นจักรวรรดิ
4 สมัยเสื่อมอำนาจ จักรวรรดิอียิปต์เริ่มเสื่อมอำนาจตั้งแต่ประมาณปี 1,100 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยนี้ชาวต่างชาติ เช่น พวกอัสซีเรียนและพวกเปอร์เซียจากเอเชีย รวมทั้งชนชาติในแอฟริกาได้เข้ามายึดครอง จนกระทั่งเสื่อมสลายในที่สุด
2.4 ด้านการเมืองการปกครอง
1 สมัยอาณาจักรเก่า กษัตริย์หรือฟาโรห์ (Pharaoh) มีอำนาจสูงสุด โดยมีผู้ช่วยในการปกครองคือ ขุนนาง หัวหน้าขุนนางเรียกว่า “วิเซียร์” และมีหน่วยงานย่อย ๆ ในการบริหารประเทศ แต่ละเมืองแต่ละหมู่บ้านมีผู้ปกครองระดับต่าง ๆ ดูแลเป็นลำดับขั้น แต่ละชุมชนถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้แก่ทางการซึ่งส่วนใหญ่คือ การสร้างพีระมิดแต่ละอาณาจักรมีอำนาจปกครองเหนือมณฑลต่าง ๆหรือเรียกว่าโนเมส ซึ่งแต่ละโนเมสมีสัญลักษณ์แตกต่างกัน ต่อมามีการรวมกันเป็นอาณาจักรใหญ่ 2 แห่ง คืออียิปต์บนและอียิปต์ล่าง ต่อมาทั้ง 2 อาณาจักรได้ถูกรวมเข้าด้วยกันเกิดราชวงศ์อียิปต์โดยประมุขแห่งอียิปต์ (เมเนสหรือนาร์เมอร์) ความเสื่อมของอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ การสร้างพีระมิดขนาดใหญ่ เป็นการบั่นทอนเศรษฐกิจและแรงงานของอียิปต์ ซึ่งนำความเสื่อมมาสู่ราชวงศ์อียิปต์
2 สมัยอาณาจักรกลาง ฟาโรห์เปลี่ยนภาพลักษณ์จากผู้ปกครองที่อยู่ห่างไกลประชาชนมาเป็นผู้ปกป้องประชาชน ลดการสร้างพีระมิด แต่ประชาชนต้องตอบแทนด้วยการทำงานสาธารณะต่าง ๆ เช่น การระบายน้ำในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพื่อช่วยการเกษตร การขุดคลองเชื่อมแม่น้ำไนล์กับทะเลแดงเพื่อการสะดวกในการค้าและขนส่ง
3 สมัยอาณาจักรใหม่ฟาโรห์อเมนโฮเตปที่ 4 ทรงเปลี่ยนแปลงความเชื่อในเรื่องการนับถือเทพเจ้าหลายองค์มาเป็นการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว คือ เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ขุนนางและประชาชน รัชกาลนี้จึงตกต่ำ แต่เมื่อฟาโรห์ตุตันคาเมนขึ้นครองราชย์จึงเปลี่ยนกลับไปนับถือเทพเจ้าหลายองค์เช่นเดิม ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์สูญเสียความเข้มแข็ง ชนเผ่าต่าง ๆ สลับกันมีอำนาจปกครองอียิปต์ เช่น อัสซีเรีย ลิเบีย เปอร์เซีย สุดท้ายอียิปต์กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน
ภาพแสดงลักษณะการปกครองและสภาพชนชั้นของอียิปต์
2.5 ด้านเศรษฐกิจ
อาชีพหลักของชาวอียิปต์ คือ เกษตรกรรม เพราะว่าดินอุดมสมบูรณ์ ทำให้ผลิตอาหารเกินความต้องการ การผลิตทางการเกษตรที่เป็นหลักของอียิปต์ คือ ข้าวสาลี บาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ถั่วฝักยาว ถั่ว ผักและผลไม้ และต่อมาชีวิตที่มั่งคั่งและฟุ่มเฟือยของบางคนนำไปสู่การพัฒนางานหัตถกรรมและอุตสาหกรรม บางส่วนทอผ้า บางส่วนผลิตเครื่องตกแต่ง หม้อ ลินิน
และอัญมณี เหล็กและทองแดงมีการถลุง นำมาใช้ในการทำเครื่องมือ แก้ว และเครื่องปั้นดินเผา มีการผลิตทั้งแบบเรียบ ๆ และวาด ทั้งยังมีวิศวกร จิตรกร ประติมากร และสถาปนิกอีกด้วย
ภาพการประกอบอาชีพของชาวอียิปต์
ภาพแสดงการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ (สังเกตจากลักษณะสีผิวและการแต่งกาย)
2.6 ด้านสังคม
เป็นสังคมแบบลำดับชั้น ผู้ปกครองสูงสุด คือ ฟาโรห์ และชนชั้นปกครองอื่น ๆ คือ ขุนนางและนักบวช ชนชั้นรองลงมาคือ พ่อค้าและช่างฝีมือ ชนชั้นล่าง คือ ชาวนา และทาส ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ที่ดินทั้งหมดเป็นของฟาโรห์ สำหรับขุนนางและนักบวชก็ได้ครอบครองที่ดินจำนวนมาก ชาวนาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือเมืองเล็กๆ และเสียภาษีเป็นผลผลิตให้ฟาโรห์ ขุนนาง และพระ รวมทั้งต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปทำงานให้รัฐ และเป็นทหารสตรีมีบทบาทสูงไม่น้อยกว่าผู้ชาย คือ ให้สถานภาพแก่สตรีสูง ยอมให้สตรีขึ้นครองราชบัลลังก์ได้ มีสิทธิในการมีทรัพย์สินและมรดก ราชินีที่มีชื่อเสียงของอียิปต์ คือ แฮตเชพซุต (Hatchepsut) ซึ่งปกครองในศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช และทำความงดงามให้กับเมืองคาร์นัก
ชาวอียิปต์ไม่ยอมให้ชายแต่งงานกับสตรีเป็นภรรยามากกว่า 1 คน แม้ว่าการมีเมียน้อยเป็นเรื่อง ปกติและยอมรับทั่วไป ลักษณะที่แปลกของระเบียบสังคมนี้ คือ ชอบให้พี่ชาย-น้องสาวแต่งงานกัน หรือแต่งงานภายในตระกูล ฟาโรห์แต่งงานกับตระกูลของตน เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของสายเลือด ประเพณีนี้ได้มีผู้อื่นนำไปใช้ต่อมา
2.7 ด้านศาสนา
ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าหลายองค์ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจธรรมชาติโดยเทพเจ้าที่ได้รับการเคารพสูงสุด คือ เร หรือ รา (Re or Ra) เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ และเป็นหัวหน้าแห่งเทพเจ้าทั้งปวง ซึ่งปรากฏในหลายชื่อและหลายรูปลักษณ์ เช่น ผู้มีร่างกายเป็นมนุษย์ มีหัวเป็นเหยี่ยว และในรูปของมนุษย์คือ ฟาโรห์ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบุตรของเร และมีเทพเจ้าสำคัญองค์อื่น ๆ อีก เช่น เทพเจ้าแห่งแม่น้ำไนล์หรือโอซิริส และยังเป็นผู้พิทักษ์ดวงวิญญาณหลังความตาย เทพเจ้าแห่งพื้นดินหรือไอซิส เป็นผู้สร้างและชุบชีวิตคนตาย เป็นต้น การยกย่องกษัตริย์ให้เทียบเท่าเทพเจ้า ทำให้สถาบันกษัตริย์มีความศักดิ์สิทธิ์ประดุจเป็นเทพเจ้า ความเชื่อนี้มีผลต่อการสร้างอารยธรรมดังเช่น การสร้างพีระมิด
2.8 ด้านภาษาและวรรณกรรม
ชาวอียิปต์ได้พัฒนาระบบการเขียนที่เรียกว่า เฮียโรกริฟิค (Hieroglyphic) เป็นคำภาษากรีก มี ความหมายว่า การจารึกอันศักดิ์สิทธิ์ เริ่มต้นด้วยการเขียนอักษรภาพแสดงสัญลักษณ์ต่างๆ แล้วค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นรูปแบบพยัญชนะ ในระยะแรก ชาวอียิปต์จารึกเรื่องราวด้วยการแกะสลักอักษรไว้ตามกำแพงและผนังของสิ่งก่อสร้าง เช่น วิหารและพีระมิด ต่อมาจึงค้นพบวิธีการทำกระดาษจากต้นปาปิรุส ทำให้มีการบันทึกแพร่หลายมากขึ้น
ตัวอย่างอักษรภาพเฮียโรกริฟิค (Hieroglyphic)
2.9 ด้านศิลปวิทยาการ
1 ด้านดาราศาสตร์
ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์จากการเกิดน้ำท่วมของแม่น้ำไนล์ ซึ่งได้นำความรู้นี้มาคำนวณเป็นปฏิทินแบบสุริยคติที่แบ่งวันออกเป็น 365 วันใน 1 ปี ซึ่งมี 12 เดือน และในรอบ 1 ปี ยังแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล ที่กำหนดตามวิถีการประกอบอาชีพ คือ ฤดูน้ำท่วม ฤดูไถหว่าน และฤดูเก็บเกี่ยว
2 ด้านคณิตศาสตร์
ความรู้ทางคณิตศาสตร์และเรขาคณิตที่อียิปต์ให้แก่ชาวโลก เช่น การบวก ลบ และหาร และการคำนวณพื้นที่วงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม ความรู้ดังกล่าวเป็นฐานของวิชาฟิสิกส์ที่ใช้คำนวณในการก่อสร้างพีระมิด
3 ด้านการแพทย์
ชาวอียิปต์โบราณมีความรู้ทางการแพทย์สาขาทันตกรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา เช่น กระเพาะอาหาร และศัลยกรรม ซึ่งมีหลักฐานการบันทึก และต่อมาถูกนำไปใช้แพร่หลายในทวีปยุโรป ตลอดจนวิธีเสริมความงามต่าง ๆ เช่น การรักษาริ้วรอยเหี่ยวย่น การใช้ผมมนุษย์ทำวิกผม เป็นต้น
4 ด้านสถาปัตยกรรม
เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมอียิปต์ คือ พีระมิดที่บรรจุศพของฟาโรห์ ซึ่งสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ทางศาสนาและอำนาจทางการปกครอง นอกจากพีระมิดแล้ว ยังมีการสร้างวิหารจำนวนมาก เพื่อบูชาเทพเจ้าในแต่ละองค์ และเป็นสุสานของกษัตริย์ เช่น วิหารแห่งเมืองคาร์นัก เป็นต้น
ภาพสุสานกษัตริย์ของอียิปต์
5 ด้านประติมากรรม
ชาวอียิปต์สร้างประติมากรรมไว้จำนวนมากทั้งที่เป็นรูปปั้นและภาพสลักที่ปรากฏในพีระมิดและวิหาร ภาพสลักส่วนใหญ่จะประดับอยู่ในพีระมิดและวิหาร ในพีระมิดมักพบรูปปั้นของฟาโรห์และพระมเหสี รวมทั้งเรื่องราววิถีชีวิตของอียิปต์ ส่วนภายในวิหารมักจะเป็นรูปปั้นสัญลักษณ์ของเทพและสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เช่น สุนัข แมว เหยี่ยว เป็นต้น และภาพสลักที่แสดงเรื่องราวและเหตุการณ์
6 ด้านจิตรกรรม
ผลงานด้านจิตรกรรมมีเป็นจำนวนมาก มักพบในพีระมิดและสุสานต่างๆ ภาพวาดของชาวอียิปต์ส่วนใหญ่มีสีสันสดใส มีทั้งภาพสัญลักษณ์ของเทพเจ้าที่ชาวอียิปต์นับถือ พระราชกรณียกิจของฟาโรห์และสมาชิกในราชวงศ์ ภาพบุคคลทั่วไปและภาพที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวอียิปต์ เช่น ภาพการประกอบอาชีพ เป็นต้น
3 อารยธรรมกรีก
3.1 สภาพภูมิศาสตร์ของกรีก
ดินแดนของกรีกบนพื้นแผ่นดินในทวีปยุโรปแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ
1 ภาคเหนือ ได้แก่ แคว้นมาซิโดเนีย (Macedonia) เทสซาลี (Thessaly) และอิไพรัส (Epirus)
2 ภาคกลาง ได้แก่ บริเวณที่เป็นเนินเขาสูง เป็นที่ตั้งของนครทีบส์ (Thebes) นครเดลฟี (Delphi) ช่องเขาเทอร์มอปิเล (Thermopylae) และยอดเขาพาร์แนสซัส (Parnassus) ซึ่งเป็นที่สถิตของอะพอลโล (Apollo) หรือสุริยเทพ ตรงปลายสุดของด้านตะวันออก คือ แคว้นอัตติกา (Attica) ซึ่งมีเมืองหลวง คือ นครเอเธนส์ (Athens) แหล่งกำเนิดการปกครองระบอบประชาธิปไตย
3 บริเวณคาบสมุทรเพโลพอนนีซัส (Peloponnesus) อยู่ตอนใต้อ่าวคอรินท์ เป็นที่ตั้งของนครรัฐสปาร์ตา (Sparta) ที่มีชื่อเสียงด้านการรบ และโอลิมเปีย (Olympia) ซึ่งเป็นที่สิงสถิตของบรรดาเทพเจ้ากรีก
3.2 ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่ออารยธรรมกรีก
ภูมิประเทศของกรีก ประกอบด้วย ภูเขา พื้นดิน และทะเล โดยกรีกมีพื้นที่ราบน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา และหมู่เกาะในทะเลอีเจียน ประชาชนอาศัยอยู่ตามหมู่บ้านในบริเวณที่ราบเล็กๆ ในหุบเขาที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งสภาพภูมิศาสตร์เช่นนี้ทำให้แยกชุมชนต่างๆออกจากกัน ส่งผลให้แต่ละเมืองแตกแยกเป็นนครรัฐต่าง ๆ มากมายซึ่งเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน นครรัฐที่สำคัญได้แก่ นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ตา พื้นดินส่วนใหญ่ของกรีกขาดความอุดมสมบูรณ์และมีพื้นดินขนาดเล็ก ประกอบกับมีแม่น้ำสายสั้น ๆ น้ำไหลเชี่ยวและพัดพาเอาความอุดมสมบูรณ์ของดินไป และจากลักษณะภูมิประเทศที่มีลักษณะคล้ายแหลมยื่นไปในทะเล ทำให้กรีกมีชายฝั่งทะเลที่ยาว ซึ่งความเว้าแหว่งของทะเลเป็นที่กำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี ใช้เป็นอ่าวสำหรับจอดเรือ ทำให้ชาวกรีกเป็นคนชอบค้าขายทางทะเล นอกจากนี้ดินแดนกรีกยังเป็นดินแดนที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เช่น เหล็ก ทอง เงิน หินอ่อน เป็นต้น
3.3 อารยธรรมเริ่มต้นของอารยธรรมกรีก
1. อารยธรรมไมนวน (Minoan Civilization)
เป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นที่เกาะครีต โดยมีชาวครีตหรือชาวครีตันเป็นชนพื้นเมืองของเกาะนี้ กษัตริย์ที่มีอำนาจมากที่สุด คือ พระเจ้ามินอส พระราชวังที่สำคัญ คือ พระราชวังคนอสซุส
พระราชวังคนอซุส พระราชวังของกษัตริย์ไมโนน ภาพเฟรสโกภายในพระราชวัง (ภาพที่ลงสีขณะปูนยังเปียกอยู่)
ภาพแสดงวิถีชีวิของชาวไมโนน
ความเสื่อมของอารยธรรมไมโนน
1) เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟที่ทำลายเมือง
2) การรุกรานของพวกไมซินีจากแผ่นดินใหญ่
เป็นอารยธรรมของพวกไมซีเนียน มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีเนบนคาบสมทรเพโลพอนนีซัส โดย บรรพบุรุษของชาวไมซีเนียน คือ พวกเอเคียน มีความสามารถในการรบและการค้า ซึ่งพวกนี้โจมตีเกาะครีต ทำลายพระราชคนอสซุส และได้สร้างเมืองไมซีเนขึ้น ซึ่งมีป้อมปราการที่แข็งแรง ทำให้พวกเอเคียนมีชื่อใหม่ว่าไมซีเนียนตามชื่อเมือง ต่อมาพวกเอเคียนได้ไปทำสงครามกับเมืองทรอยในสงครามโทจัน เนื่องจากเมืองทรอยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชียไมเนอร์ ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้ากับเมืองไมซีเนจนสำเร็จ
มรดกของอารยธรรมไมซีเน คือ การนับถือเทพเจ้าหลายองค์รวมทั้งเทพเจ้าซุส (Zeus) เฮรา (Hera) และโพไซดอน เป็นต้น
ความเสื่อมของอารยธรรมไมซีเน คือถูกพวกดอเรียนซึ่งเป็นชาวกรีกเผ่าหนึ่งเข้ามารุกรานจนทำให้ความเจริญหยุดลงชั่วขณะ
แผนที่แสดงที่ตั้งของอารยธรรมไมซีนี
3.4 กรีกยุคมืด
เนื่องจากการขาดหลักฐานการเขียนทำให้ความรู้ของเราเกี่ยวกับเรื่องนี้ถูกจำกัด โดยสงครามเป็นเหตุให้เศรษฐกิจกรีกพินาศ ซึ่งสร้างความยากจนและสับสน ทางการเมืองซึ่งยาวนาน กษัตริย์ไมซีเนียนถูกแทนที่ด้วยหัวหน้าเล็ก ๆ ผู้มีอำนาจและทรัพย์สินจำกัด ศิลปินหยุดการวาดคนและสัตว์บนหม้อไห กรีกเพาะปลูกในพื้นดินน้อยนิด มีคนมาตั้งถิ่นฐานน้อย และการค้าสากลน้อยกว่าที่เคยมีมาก่อน ซึ่งเรื่องราวต่าง ๆ ของกรีกยุคมืดปรากฏอยู่ในวรรณกรรมมุขปาฐะ เรื่องมหากาพย์อิเลียด และโอดิสซี ของมหากวีโฮเมอร์ (Homer) ซึ่งมหากาพย์อิเลียดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำสงครามกับทรอย ส่วนมหากาพย์โอดิสซีเป็นเรื่องเกี่ยวกับชัยชนะจากการทำสงครามกับทรอย
3.5 อารยธรรมของกรีก
อารยธรรมกรีกประกอบด้วย อารยธรรมเฮเลนิก และอารยธรรมเฮเลนิสติค
1. อารยธรรมเฮเลนิก (Hellenic Civilization) หรือยุคคลาสสิก (Classical Age)
ในสมัยนี้มีการสร้างอาณานิคมเกิดขึ้น มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและผู้นำชุมชนเริ่มตั้งสภาและกลุ่มต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมสาธารณะที่อกอรา ซึ่งเป็นที่พบปะสังสรรค์กันของผู้คนในนครรัฐ ซึ่งยุคคลาสสิคนี้ได้เกิดนครรัฐขนาดใหญ่ 2 นครรัฐ ได้แก่ นครรัฐสปาร์ตา และนครรัฐเอเธนส์
1.1. นครรัฐสปาร์ตา
ชาวสปาร์ตาเป็นชาตินักรบ เนื่องจากต้องต่อสู้เพื่อให้ได้ครอบครองลาโคเนียและเมอซีเนีย และเพื่อป้องกันการกบฏของลาโคเนียและเมอซีเนีย ชาว สปาร์ตาจึงต้องสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง จรทำให้ชาวสปาร์ตากลายเป็นชาตินักรบ มีการปกครองแบบคณาธิปไตย และเนื่องจากสภาพภูมิประเทศของชาว สปาร์ตาไม่มีท่าเรือที่ดี และตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวขนาบด้วยภูเขาจึงทำให้ชาวสปาร์ตาขาดการติดต่อจากโลกภายนอก และยังเป็นผลให้สปาร์ตาเป็นรัฐที่มีความสามารถในการรบอีกด้วย
1.2 นครรัฐเอเธนส์
เนื่องจากชาวเอเธนส์อพยพแบบค่อยเป็นค่อยไปเข้ามาในคาบสมุทรกรีก และสภาพภูมิประเทศของชาวเอเธนส์มั่งคั่งด้วยแร่ธาตุและท่าเรือที่ดี จึงทำให้มีพัฒนาการทางด้านการค้าและมีความเจริญทางด้านวัฒนธรรม จึงทำให้นครรัฐแห่งนี้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ทำให้ชาวเอเธนส์เป็นนักประชาธิปไตย และรักความก้าวหน้า
ในยุคคลลาสสิคนี้เกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ 2 ครั้ง ได้แก่ สงครามเปอร์เซียและสงครามเพโลพอนเนเชียน
1) สงครามเปอร์เซีย
สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งระหว่างเอเธนส์กับเปอร์เซีย เพราะเปอร์เซียขยายอำนาจเข้ามาในเอเชียไมเนอร์ ผลของสงคราม คือ เอเธนส์ชนะเปอร์เซีย
2) สงครามเพโลพอนเนเชียน
ชาวกรีกเกิดความคิดในการเตรียมการป้องกันชาวเปอร์เซีย นครรัฐต่างๆ ของกรีกจึงต่างเข้ามาเป็นสมาชิก และสมาชิกแต่ละนครรัฐมีสิทธิเท่าเทียม ทำให้นครรัฐกรีกร่วมกันตั้งสหพันธ์แห่งเกาะเดลอส สหพันธรัฐใช้เป็นศูนย์กลางและเป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติ แต่ในความเป็นจริงแล้วนครรัฐเอเธนส์มีอิทธิพลในการเป็นผู้นำ ต่อมาสหพันธรัฐเปลี่ยนสภาพเป็นจักรวรรดิของเอเธนส์ เอเธนส์ใช้เงินเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ลดฐานะสมาชิกอื่น ๆ ให้อยู่ในฐานะบริวาร และห้ามไม่ให้รัฐสมาชิกแยกตัวออกจากสหพันธ์ เมื่อรัฐใดก่อกบฏก็จะใช้กำลังปราบโดยยึดกองทหารเรือและเก็บเครื่องราชบรรณาการ วิธีนี้ทำให้นครรัฐสปาร์ตากลัวว่า เอเธนส์จะเป็นผู้นำกรีกทั้งหมด และเนื่องจากสภาพสังคมของทั้ง 2 รัฐแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดสงครามขึ้น ผลของสงคราม คือ นครรัฐสปาร์ตาชนะ ทำให้นครรัฐสปาร์ตาได้เอเธนส์ไว้ในอำนาจ และนำระบอบการปกครองแบบคณาธิปไตยมาใช้ แต่การปกครองของสปาร์ตาไม่มั่นคงจึงทำให้นครรัฐสปาร์ตาพ่ายแพ้ต่อกองทัพของนครธีบีสและเอเธนส์ ในที่สุดกรีกทั้งหมดก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมาซิโดเนีย
2. อารยธรรมเฮเลนิสติก
เป็นช่วงที่นครรัฐต่างๆ ของกรีกเสื่อมลง เนื่องมาจากสงครามเพโลพอนเนเชียน และแคว้นมาซิโดเนียเจริญขึ้น โดยแคว้นมาซิโดเนียมีกษัตริย์องค์สำคัญ ได้แก่ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ได้นครรัฐกรีกไว้ในอำนาจ และกษัตริย์องค์ต่อมา คือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้ทำการปลดปล่อยหัวเมืองกรีกต่างๆ บนเอเชียไมเนอร์ให้พ้นจากการปกครองเปอร์เซีย
3.6 มรดกทางอารยธรรมกรีก
1. สถาปัตยกรรม ใช้ระบบโครงสร้างแบบเสาและคาน แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการสร้างเสารายรอบอาคาร ซึ่งจะมีความแตกต่างตรงหัวเสา สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบดอริก (Doric) แบบไอโอนิก (Ionic) และแบบคอรินเธียน (Corinthian) และส่วนใหญ่ยังนิยมก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมสาธารณะ เช่น วิหาร สนามกีฬา และโรงละคร วิหารที่มีชื่อเสียง สร้างบนภูเขาที่มีชื่อเรียกว่า อะครอโพลิส (Acropolis) คือ วิหารพาร์เธนอน สร้างเพื่อถวายแด่เทพีอะธีนา (Athena)
3. จิตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่ปรากฏบนเครื่องปั้นดินเผา เช่น แจกัน คนโท ไห ฯลฯ และฝาผนังที่พบในวิหารหรือกำแพง
4. นาฏกรรม ละครประเภทโศกนาฏกรรม (Tragedy) และสุขนาฏกรรม (Comedy) การแสดงจะใช้นักแสดงชายทั้งหมด โดยทุกคนจะสวมหน้ากาก และมีผู้พากย์และหมู่นักร้อง (Chorus) ส่งเสียงประกอบ
5. วรรณกรรม วรรณกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ มหากาพย์ของโฮเมอร์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซี ที่สะท้อนถึงความรู้สึกที่กวีมีต่อโศกนาฏกรรมในสงครามทรอย (Troy) นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถานที่ที่สำคัญ ประเพณี วิถีชีวิต และความคิดของชาวกรีกด้วย
6. ปรัชญา
6.1. โซเครติส (Socrates) เกิดที่เธนส์ เขาสอนให้คนใช้เหตุผลและสติปัญญาในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ วิธีสอนของเขาเรียกว่า “Socretic method” ไม่เน้นการท่องจำแต่ใช้วิธีตั้งคำถามโดยไม่ต้องการคำตอบ แต่ให้ผู้ถูกถามขบคิดปัญหาเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง แม้โซเครติสมีลูกศิษย์มากมาย แต่ก็ไม่มีผลงานเขียนของตนเอง ดังนั้นปรัชญา และทฤษฎีของเขาที่รู้จักจึงเป็นผลงานที่ถ่ายทอดโดยลูกศิษย์ของเขา
6.2. เพลโต (Plato) เป็นศิษย์เอกของโซเครติส เป็นผู้รวบรวมหลักคำสอนของโซเครติส เรียกว่า Dialogue และเป็นผู้ถ่ายทอดหลักการและความคิดของโซเครติสให้ชาวโลกได้รับรู้ เพลโตได้เปิดโรงเรียนชื่อ
“อะคาเดมี” (Academy) และได้เขียนหนังสือที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการปกครอง การศึกษา ระบบยุติธรรม ผลงานที่โดเด่นจนทำให้ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาการเมืองสมัยใหม่คือหนังสือชื่อ สาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งเสนอแนวคิดในการปกครองประเทศและมีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองของผู้คนทั่วโลก
“อะคาเดมี” (Academy) และได้เขียนหนังสือที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการปกครอง การศึกษา ระบบยุติธรรม ผลงานที่โดเด่นจนทำให้ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาการเมืองสมัยใหม่คือหนังสือชื่อ สาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งเสนอแนวคิดในการปกครองประเทศและมีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองของผู้คนทั่วโลก
6.3. อริสโตเติล (Aristotle) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ เขาเป็นศิษย์ของเพลโตและเคยเป็นอาจารย์ของพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช อริสโตเติลเป็นทั้งนักปราชญ์และนักวิจัย ซึ่งนอกจากปรัชญาทางการเมืองแล้ว เขายังสนใจวิทยาการใหม่ๆด้วย เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ หลักตรรกศาสตร์ วาทกรรม จริยศาสตร์ ฯลฯ ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือหนังสือชื่อ การเมือง (Politics)
7. ประวัติศาสตร์ เป็นชาติแรกในโลกตะวันตกที่เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยนักประวัติศาสตร์กรีกคนแรกที่เริ่มเขียนงาน ประวัติศาสตร์และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก คือ เฮโรโดตัส (Herodotus) นอกจากนี้ยังมี ทูซิดิดีส (Thucydides) ซึ่งมีงานเขียน คือ The Peloponnesian War ซึ่งเป็นงานเขียนบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการของนักวิชาการเป็นครั้งแรก
8. คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์เด่นของกรีก ได้แก่ ปิทาโกรัสแห่งเมืองซามอส ผู้คิดค้นทฤษีบทปิทาโกรัส ยูคลิดแห่งเมืองอะเล็กซานเดรีย ผู้คิดเรขาคณิตแบบยูคลิด และเขียนหนังสือชุด Elements ซึ่งมีจำนวน 13 เล่ม เนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงเรขาคณิตระนาบและเรื่องสัดส่วน อาร์คิมีดีสแห่งเซียราคิวส์ เป็นผู้คิดระหัดวิดน้ำแบบเกลียวลูกกรอกชุด ตั้งกฎของคานดีดคานงัด และพบวิธีการหาปริมาตรของวัตถุโดยการแทนที่น้ำ
9. การแพทย์ ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) ได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งการแพทย์” ซึ่งค้นพบว่าโรคร้ายต่างๆที่เกิดขึ้นเกิดจากธรรมชาติ ไม่ใช่การลงโทษของพระเจ้า เขาเชื่อว่าวิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ การควบคุมด้านโภชนาการและการพักผ่อน นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มการผ่าตัด และการกำหนดหลักจรรยาแพทย์ที่ถือปฏิบัติต่อมาจนถึงปัจจุบัน
10. ดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์ เอราทอสทินีส (Eratosthenes) ที่เชื่อว่าโลกกลม สามารถคำนวณความยาวรอบโลกได้ และยังค้นพบว่าการขึ้นลงของกระแสน้ำเกิดจากอิทธิพลของดวงจันทร์
4 อารยธรรมโรมัน
4.1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่ออารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันกำเนิดที่คาบสมุทรอิตาลี ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปยุโรป โดยมีลักษณะเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา และเนินเขา ได้แก่ เทือกเขาแอลป์ทางทิศเหนือซึ่งกั้นคาบสมุทรอิตาลีออกจากดินแดนส่วนอื่นของทวีปยุโรป และเทือกเขาแอเพนไนน์ซึ่งเป็นแกนกลางของคาบสมุทร ส่วนบริเวณที่ราบมีน้อยและมีที่ราบน้อย จึงทำให้การตั้งถิ่นฐานของชุมชนอยู่อย่างกระจัดกระจายเป็นชุมชนเล็กๆ พื้นที่การเกษตรมีไม่มากนัก แต่เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น บริเวณดังกล่าวไม่สามารถรองรับการเกษตรที่ขยายตัวได้ จึงเป็นสาเหตุที่ชาวโรมันขยายดินแดนไปยังดินแดนอื่นๆ
4.2. สมัยสาธารณรัฐ
พวกอิทรัสกัน โดยได้รับอารยธรรมของกรีก ซึ่งต่อมาได้อพยพเข้ามาในแหลมอิตาลี จึงได้นำเอาความเชื่อในศาสนาและเทพเจ้าของกรีก ศิลปะการแกะสลัก การทำเครื่องปั้นดินเผา ตัวอักษร การทำนายจากการดูเครื่องในของสัตว์และการบินของนก การสร้างซุ้มประตูโค้ง (Arch) และประติมากรรมเทพเจ้าเข้ามาเผยแพร่ นอกจากพวกอิทรัสกันแล้วยังมีชนเผ่าอื่น ๆ อีก เช่น พวกละติน ต่อมาได้ตกมาอยู่ภายใต้การปกครองพวกอิทรัสกัน
ในระยะแรกปกครองระบอบกษัตริย์ เรียกว่า อิมพิเรียม (Imperium) กษัตริย์จะสภาซีเนตหรือสภาขุนนางเป็นที่ปรึกษาโดยสมาชิกจะอยู่ในชนชั้นพาทรีเชียน (patrician) แต่ต่อมาพวกละตินได้ขับไล่อิทรัสกันออกจากบัลลังก์และตั้งกรุงโรมขึ้น แต่อำนาจการปกครองยังเป็นดินแดนของพวกพาทริเชียน (patrician) เท่านั้น ส่วนราษฎรที่เรียกว่า เพลเบียน (plebeian) ซึ่งเป็นสามัญชนหรือประชาชนส่วนใหญ่ เช่น ชาวไร่ ชาวนา ช่างฝีมือ ไม่มีสิทธิใดๆทางการเมืองและสังคมจนนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่าง 2 ชนชั้น จนพวกเพลเบียนมีสิทธิออกกฎหมายร่วมกับพวก
พาทริเชียน เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of the Twelve Tables) เพื่อใช้บังคับกับชาวโรมันทุกคน ซึ่งกฎหมายสิบสองโต๊ะนับเป็นมรดกชิ้นสำคัญของโรมที่ถือเป็นแม่แบบของกฎหมายโลกตะวันตก ต่อมาโรมันได้ทำสงครามพิวนิกกับพวกคาร์เทจ โดยมีสาเหตุมาจากการแย่งผลประโยชน์ในเกาะชิชิลี ผลคือฝ่ายคาร์เทจแพ้ จึงทำให้โรมันกลายเป็นรัฐที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น
4.3. สมัยจักรวรรดิ ชาวโรมันเปลี่ยนการปกครองจากสาธารณรัฐมาใช้เป็นจักรวรรดิ และออกุสตุส (Augustus) เป็นจักรพรรดิหรือซีซาร์ (Caesar ) พระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ในสมัยนี้โรมันเจริญถึงขีดสุดละได้ขยายอำนาจไปยังภูมิภาคต่าง ๆ และเมื่อศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายมาถึงดินแดนทางภาคตะวันตกของปาเลสไตน์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน ทำให้จักรวรรดิโรมันต่อต้านศาสนานี้อย่างรุนแรง แต่ในสมัยจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชพระองค์ (Constantine the Great) ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ทำให้จักรวรรดิโรมันกลายเป็นจักรวรรดิของคริสต์ศาสนา ทรงสร้างกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคือ นครอิสตันบูลในประเทศตุรกี) ทางตะวันตกของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาเรียกว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine) จนกระทั่งสมัยปลายจักรวรรดิ โรมันเผชิญปัญหาภายในทำให้ถูกพวก อนารยชนเผ่าเยอรมันหรือเผ่ากอธเข้าปล้นสะดม และขับไล่กษัตริย์ออกจากบัลลังก์ ถือเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันตะวันตก และประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
4.4. มรดกของอารยธรรมโรมัน
ความโดดเด่นของอารยธรรมโรมันเกิดจากรากฐานที่แข็งแรง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมกรีกและอารยธรรมของดินแดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผสานกับความเจริญก้าวหน้าที่เป็นภูมิปัญญาของชาวโรมันเองที่พยายามคิดค้นสร้างระบบต่างๆ เพื่อดำรงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมันไว้ 1. สถาปัตนกรรม เน้นความใหญ่โต แข็งแรงทนทาน โดยชาวโรมันได้พัฒนาเทคนิคการก่อสร้างของกรีกเป็นประตูโค้ง (arch) และเปลี่ยนหลังคาจากจั่วเป็นโดม และสร้างอาคารต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของรัฐและ สาธาณชน เช่น โคลอสเซียม สถานที่อาบน้ำสาธารณะ วิหารแพนธีออน (Pantheon)
ในระยะแรกปกครองระบอบกษัตริย์ เรียกว่า อิมพิเรียม (Imperium) กษัตริย์จะสภาซีเนตหรือสภาขุนนางเป็นที่ปรึกษาโดยสมาชิกจะอยู่ในชนชั้นพาทรีเชียน (patrician) แต่ต่อมาพวกละตินได้ขับไล่อิทรัสกันออกจากบัลลังก์และตั้งกรุงโรมขึ้น แต่อำนาจการปกครองยังเป็นดินแดนของพวกพาทริเชียน (patrician) เท่านั้น ส่วนราษฎรที่เรียกว่า เพลเบียน (plebeian) ซึ่งเป็นสามัญชนหรือประชาชนส่วนใหญ่ เช่น ชาวไร่ ชาวนา ช่างฝีมือ ไม่มีสิทธิใดๆทางการเมืองและสังคมจนนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่าง 2 ชนชั้น จนพวกเพลเบียนมีสิทธิออกกฎหมายร่วมกับพวก
พาทริเชียน เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of the Twelve Tables) เพื่อใช้บังคับกับชาวโรมันทุกคน ซึ่งกฎหมายสิบสองโต๊ะนับเป็นมรดกชิ้นสำคัญของโรมที่ถือเป็นแม่แบบของกฎหมายโลกตะวันตก ต่อมาโรมันได้ทำสงครามพิวนิกกับพวกคาร์เทจ โดยมีสาเหตุมาจากการแย่งผลประโยชน์ในเกาะชิชิลี ผลคือฝ่ายคาร์เทจแพ้ จึงทำให้โรมันกลายเป็นรัฐที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น
4.3. สมัยจักรวรรดิ ชาวโรมันเปลี่ยนการปกครองจากสาธารณรัฐมาใช้เป็นจักรวรรดิ และออกุสตุส (Augustus) เป็นจักรพรรดิหรือซีซาร์ (Caesar ) พระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ในสมัยนี้โรมันเจริญถึงขีดสุดละได้ขยายอำนาจไปยังภูมิภาคต่าง ๆ และเมื่อศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายมาถึงดินแดนทางภาคตะวันตกของปาเลสไตน์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน ทำให้จักรวรรดิโรมันต่อต้านศาสนานี้อย่างรุนแรง แต่ในสมัยจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชพระองค์ (Constantine the Great) ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ทำให้จักรวรรดิโรมันกลายเป็นจักรวรรดิของคริสต์ศาสนา ทรงสร้างกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคือ นครอิสตันบูลในประเทศตุรกี) ทางตะวันตกของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาเรียกว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine) จนกระทั่งสมัยปลายจักรวรรดิ โรมันเผชิญปัญหาภายในทำให้ถูกพวก อนารยชนเผ่าเยอรมันหรือเผ่ากอธเข้าปล้นสะดม และขับไล่กษัตริย์ออกจากบัลลังก์ ถือเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันตะวันตก และประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
4.4. มรดกของอารยธรรมโรมัน
ความโดดเด่นของอารยธรรมโรมันเกิดจากรากฐานที่แข็งแรง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมกรีกและอารยธรรมของดินแดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผสานกับความเจริญก้าวหน้าที่เป็นภูมิปัญญาของชาวโรมันเองที่พยายามคิดค้นสร้างระบบต่างๆ เพื่อดำรงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมันไว้ 1. สถาปัตนกรรม เน้นความใหญ่โต แข็งแรงทนทาน โดยชาวโรมันได้พัฒนาเทคนิคการก่อสร้างของกรีกเป็นประตูโค้ง (arch) และเปลี่ยนหลังคาจากจั่วเป็นโดม และสร้างอาคารต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของรัฐและ สาธาณชน เช่น โคลอสเซียม สถานที่อาบน้ำสาธารณะ วิหารแพนธีออน (Pantheon)
2. ประติมากรรม
สะท้อนบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างสมจริงตามธรรมชาติ และมีสัดส่วนงดงามเหมือนกรีก แต่โรมันจะเน้นพัฒนาศิลปะด้านการแกะสลักรูปเหมือนบุคคลสำคัญๆ เช่น จักรพรรดิ นักการเมือง โดยเฉพาะในครึ่งท่อนบนจะสามารถแกะสลักได้อย่างสมบูรณ์ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีชีวิตชีวา ชาวโรมันเชื่อว่าการแกะสลักรูปเหมือนจริงที่สุดจะช่วยรักษาวิญญาณของคนนั้นเมื่อตายไปแล้วไว้ได้ นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักภาพนูนต่ำ เพื่อบันทึกเรื่องรามทางประวัติศาสตร์และสดุดีวีรกรรมของนักรบ
3. ภาษาและวรรณกรรม
ชาวโรมันพัฒนาภาษาละตินจากตัวพยัญชนะในภาษากรีกที่พวกอีทรัสกันนำมาใช้ จนใช้กันแพร่หลายในมหาวิทยาลัยของยุโรปสมัยกลาง และเป็นภาษาทางราชการของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ส่วนวรรณกรรมระยะแรกเป็นบันทึกพงศาวดาร กฎหมาย ตำราการทหาร และการเกษตร ต่อมามีการแต่งงานประพันธ์เป็นของตนเอง ได้แก่ เรื่อง อิเนียด ประพันธ์โดยเวอร์จิล งานประพันธ์ของซิเซโร เป็นต้น
4. วิศวกรรม
การสร้างถนนคอนกรีต โดยถนนทั้ง 2 ข้างจะมีท่อระบายน้ำ และมีหลักบอกระยะทาง นอกจากนี้ยังมีการสร้างสะพานส่งน้ำ (aqueduct) ขนาดสูงใหญ่จำนวนมากเพื่อนำน้ำวันละ 300 ล้านแกลลอนหรือประมาณ 8,505 ล้านลิตร จากภูเขาไปยังเมืองเพื่อให้ชาวเมืองได้ใช้
สะท้อนบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างสมจริงตามธรรมชาติ และมีสัดส่วนงดงามเหมือนกรีก แต่โรมันจะเน้นพัฒนาศิลปะด้านการแกะสลักรูปเหมือนบุคคลสำคัญๆ เช่น จักรพรรดิ นักการเมือง โดยเฉพาะในครึ่งท่อนบนจะสามารถแกะสลักได้อย่างสมบูรณ์ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีชีวิตชีวา ชาวโรมันเชื่อว่าการแกะสลักรูปเหมือนจริงที่สุดจะช่วยรักษาวิญญาณของคนนั้นเมื่อตายไปแล้วไว้ได้ นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักภาพนูนต่ำ เพื่อบันทึกเรื่องรามทางประวัติศาสตร์และสดุดีวีรกรรมของนักรบ
3. ภาษาและวรรณกรรม
ชาวโรมันพัฒนาภาษาละตินจากตัวพยัญชนะในภาษากรีกที่พวกอีทรัสกันนำมาใช้ จนใช้กันแพร่หลายในมหาวิทยาลัยของยุโรปสมัยกลาง และเป็นภาษาทางราชการของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ส่วนวรรณกรรมระยะแรกเป็นบันทึกพงศาวดาร กฎหมาย ตำราการทหาร และการเกษตร ต่อมามีการแต่งงานประพันธ์เป็นของตนเอง ได้แก่ เรื่อง อิเนียด ประพันธ์โดยเวอร์จิล งานประพันธ์ของซิเซโร เป็นต้น
4. วิศวกรรม
การสร้างถนนคอนกรีต โดยถนนทั้ง 2 ข้างจะมีท่อระบายน้ำ และมีหลักบอกระยะทาง นอกจากนี้ยังมีการสร้างสะพานส่งน้ำ (aqueduct) ขนาดสูงใหญ่จำนวนมากเพื่อนำน้ำวันละ 300 ล้านแกลลอนหรือประมาณ 8,505 ล้านลิตร จากภูเขาไปยังเมืองเพื่อให้ชาวเมืองได้ใช้
สะพานส่งน้ำ (aqueduct)
สภาพถนนภายในกรุงโรมที่อดีตมีมากจนมีคำกล่าวว่า “ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม”
5. ปฏิทิน
ปฏิทินจูเลียน (แบบสุริยคติ) ปีหนึ่งมี 12 เดือน แต่ละปีมี 365 วัน และเพิ่มเดือนกุมภาพันธ์ให้ทุก ๆ 4 ปีมี 366 วัน ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้เกรกอเรียน
6. กฎหมาย
ระยะแรกโรมันไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นระบบ แต่มีลักษณะกลมกลืนไปกับศาสนา ต่อมาเปลี่ยนเป็นกฎหมายบ้านเมือง จนในที่สุดก็ได้มีการตรากฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of the Twelve Tables) ซึ่งประมวลกฏหมายโรมันนี้เป็นรากฐานประมวลกฎหมายของประเทศต่าง ๆ แม้แต่กฎหมายของวัดในสมัยกลาง และยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลในกฎหมายโรมันในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียน ซึ่งได้และจัดเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า ประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Justinian Code) และทิ้งไว้เป็นมรดกล้ำค่าของโลกตะวันตก
7. การแพทย์
แพทย์โรมันสามารถผ่าตัดรักษาโรคได้หลายโรค โดนเฉพาะการผ่าตัดทำคลอดทารกทางหน้าท้องของมารดา ซึ่งเรียกว่า ศัลยกรรมซีซาร์ (Caesarean Operation) นอกจากนี้ยังมีการสร้างโรงพยาบาล ระบบบำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล
ปฏิทินจูเลียน (แบบสุริยคติ) ปีหนึ่งมี 12 เดือน แต่ละปีมี 365 วัน และเพิ่มเดือนกุมภาพันธ์ให้ทุก ๆ 4 ปีมี 366 วัน ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้เกรกอเรียน
6. กฎหมาย
ระยะแรกโรมันไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นระบบ แต่มีลักษณะกลมกลืนไปกับศาสนา ต่อมาเปลี่ยนเป็นกฎหมายบ้านเมือง จนในที่สุดก็ได้มีการตรากฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of the Twelve Tables) ซึ่งประมวลกฏหมายโรมันนี้เป็นรากฐานประมวลกฎหมายของประเทศต่าง ๆ แม้แต่กฎหมายของวัดในสมัยกลาง และยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลในกฎหมายโรมันในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียน ซึ่งได้และจัดเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า ประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Justinian Code) และทิ้งไว้เป็นมรดกล้ำค่าของโลกตะวันตก
7. การแพทย์
แพทย์โรมันสามารถผ่าตัดรักษาโรคได้หลายโรค โดนเฉพาะการผ่าตัดทำคลอดทารกทางหน้าท้องของมารดา ซึ่งเรียกว่า ศัลยกรรมซีซาร์ (Caesarean Operation) นอกจากนี้ยังมีการสร้างโรงพยาบาล ระบบบำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล
https://sites.google.com/site/civilizations109/neuxha